ก่อสร้างไม่เสร็จและหยุดการก่อสร้าง ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่
คดีทั้งสองสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษารวมกัน โดยให้เรียกจำเลยที่ 1 ในสำนวนแรกและจำเลยที่ 2 ในสำนวนหลังเป็นจำเลยที่ 1 เรียกจำเลยที่ 2 ในสำนวนแรกและจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลังเป็นจำเลยที่ 2
โจทก์ทั้งสองสำนวนฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 231,706.75 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 173,252 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวคุณภัทรหรือณัฐธยาหรือศิริภัทร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 906,012.49 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 667,800 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางมลิวัลย์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 623,178 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 458,150 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางทองคำ ร่วมกันชำระเงิน 1,011,357.39 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 729,861 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพรประไพ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 275,588.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 204,930 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายประจณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 564,603.53 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 413,712 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวเมธินี และนางสาวสุแพรวพรรณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 889,950.48 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 668,516 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายอำพร และนายอำนวย ร่วมกันชำระเงินจำนวน 876,110.03 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 652,180 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางวัลลีย์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 688,776.76 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 497,952 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาววิไล ร่วมกันชำระเงินจำนวน 643,588.06 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 495,773 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายณัฐวุฒิ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 376,565 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางอิงอร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 323,392 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพนอรัตน์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 316,744 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายวิโรจน์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 366,730 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 12 มีนาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวกานต์ชนก ร่วมกันชำระเงินจำนวน 585,358 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายอมรสิต ร่มกันชำระเงินจำนวน 492,950 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายวรณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 577,902 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวหรือนางสุกัญญา ร่วมกันชำระเงินจำนวน 606,381 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำเสร็จแก่นางสาวปิยะพร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 429,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางอรพิน ร่วมกันชำระเงินจำนวน 623,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพิรัตน์ และร่วมกันชำระเงินจำนวน 557,464 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสมใจ
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ
จำเลยที่ 2 ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 173,252 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 เมษายน 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวคุณภัทร หรือณัฐธยาน์หรือศิริภัทร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 667,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 3 มกราคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางมลิวัลย์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 458,150 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางทองคำ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 729,861 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพรประไพ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 204,930 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 2 มีนาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายประจณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 412,712 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวเมธินี และนางสาวสุแพรวพรรณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 668,516 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายอำพร และนายอำนวย ร่วมกันชำระเงินจำนวน 652,180 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางวัลลีย์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 497,952 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาววิไล ร่วมกันชำระเงินจำนวน 495,773 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายณัฐวุฒิ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 376,565 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางอิงอร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 323,392 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพนอรัตน์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 316,744 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 พฤศิจิกายน 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายวิโรจน์ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 366,730 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 12 มีนาคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวกานต์ชนก ร่วมกันชำระเงินจำนวน 585,358 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายอมรสิต ร่วมกันชำระเงินจำนวน 492,950 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นายวรณ ร่วมกันชำระเงินจำนวน 577,902 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวหรือนางสุกัญญา ร่วมกันชำระเงินจำนวน 606,381 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวปิยะพร ร่วมกันชำระเงินจำนวน 429,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสาวอรพิน ร่วมกันชำระเงินจำนวน 623,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 15 มกราคม 2541 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางพิรัตน์ และร่วมกันชำระเงินจำนวน 557,464 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่นางสมใจ ส่วนที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์นั้น เนื่องจากโจทก์ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงในการดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 39 วรรคสอง จึงไม่กำหนดให้ คงให้ใช้เพียงค่าทนายความเป็นเงิน 10,000 บาท สำหรับค่าฤชาธรรมเนียมอื่นให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 8,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยที่ 2 ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า “…พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมและทำสัญญาขายห้องชุดกับผู้บริโภคทั้ง 21 ราย แล้วผิดสัญญาก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและหยุดการก่อสร้าง ผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ร้องเรียนต่อโจทก์และมอบอำนาจให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ในคดีนี้เป็นอันเลิกกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้บริโภคทั้ง 21 ราย มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีนางสาวคุณภัทร หรือณัฐธยาหรือศิริภัทร นางมลิวัลย์ นางสาวปิยะพร นางทองคำ และนางพรประไพ ผู้บริโภคสั่งซื้อห้องชุดในโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมเบิกความทำนองเดียวกันว่า รู้จักโครงการดังกล่าวจากแผ่นพับโฆษณาเอกสารหมาย จ.9 และทราบจากพนักงานขายของโครงการว่าเป็นโครงการของคุณหญิงศศิมา และเป็นโครงการในเครือของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ พยานทั้งห้าจึงให้ความเชื่อถือในโครงการและตกลงซื้อห้องชุดในโครงการดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 นำสืบว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารการขายซึ่งรับค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 โดยทำหน้าที่ชักชวนประชาชนให้มาซื้อห้องชุดในโครงการเท่านั้น ใบโฆษณาเอกสารหมาย จ.18 จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดทำ จำเลยที่ 2 เพียงมีหน้าที่รับไปแจกจ่ายเท่านั้น เห็นว่า ตามใบโฆษณาเอกสารหมาย จ.9 มีข้อความว่า “บริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (จำเลยที่ 2) ได้เล็งเห็นถึงความเจริญเติบโตทางธุรกิจที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในย่านประตูน้ำจึงพัฒนาแนวคิดทางด้านการจัดศูนย์รวมการค้าขาย ทั้งประเภทการค้าส่งและการค้าปลีกเป็นรูปแบบใหม่ให้เข้ามารวมอยู่ในจุดเดียวกันในชื่อโครงการว่า “โครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียม” โดยมอบหมายให้บริษัทโกลเด้น เกท พลาซ่า จำกัด” ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเข้ารับผิดชอบเป็นเจ้าของโครงการ และเอกสารโฆษณาหมาย จ.18 แผ่นที่ 5 มีข้อความว่า “…รับประกันโดยบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งหมดเป็นหลักประกันความสำเร็จที่ชัดเจนสำหรับธุรกิจในอนาคตของคุณ” และแผ่นที่ 15 และ 21 มีข้อความว่า “เจ้าของโครงการและกรรมสิทธิ์ที่ดินบริษัทโกลเด้น เกท พลาซ่า จำกัด ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท บริหารโครงการโดยบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) (บมจ. 474) ทุนจดทะเบียน 750,000,000 บาท (ชำระเต็มมูลค่า) ประธานกรรมการคุณหญิงศศิมา กรรมการผู้จัดการ นายประภา…” ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ และข้อความดังกล่าวย่อมทำให้พยานโจทก์และประชาชนทั่วไปที่พบเห็นข้อความดังกล่าวเข้าใจว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินธุรกิจโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียม โดยเฉพาะจำเลยที่ 2 มีทุนจดทะเบียนสูงถึง 750,000,000 บาท ขณะที่จำเลยที่ 1 มีทุนจดทะเบียนเพียง 10,000,000 บาท และในเอกสารดังกล่าวมีข้อความย้ำหลังข้อความเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 2 ว่า “ชำระเต็มมูลค่า” ประกอบด้วยย่อมจูงใจให้ผู้พบเห็นข้อความนี้เชื่อถือโครงการดังกล่าวจากฐานะความมั่นคงของจำเลยที่ 2 ประกอบกับนางสาวปิยะพรพยานโจทก์ซึ่งเป็นผู้บริโภคที่ซื้อห้องชุดในโครงการดังกล่าวคนหนึ่งเบิกความว่า ก่อนตกลงซื้อพยานได้รับหนังสือเชิญชวนจากจำเลยที่ 2 ให้ซื้ออาคารและห้องชุดของจำเลยที่ 2 และบริษัทในเครือรวมทั้งโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมด้วย ซึ่งเป็นการยืนยันว่าโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมเป็นโครงการหนึ่งในเครือของจำเลยที่ 2 ข้ออ้างที่ว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้บริหารโครงการทำหน้าที่ขายและไม่รู้เห็นในการจัดทำเอกสารโฆษณาหมาย จ.18 ทั้งเหตุที่ต้องระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารโครงการเพื่อเป็นการปฏิบัติตามที่กฎกระทรวงฉบับที่ 4 ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 นั้น ไม่สมเหตุสมผล จึงไม่มีน้ำหนักรับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ แม้ตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเอกสารหมาย จ.2 จ.3 จ.7 จ.10 และ จ.19 เป็นการทำสัญญาระหว่างผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ในคดีนี้กับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่จากข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมฟังได้โดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกันดำเนินธุรกิจโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียมโดยต่างมีประโยชน์ร่วมกันในโครงการดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อผู้บริโภคทั้ง 21 ราย ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วยในผล ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ต่อไปว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 หรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ผู้บริโภคทั้ง 21 ราย มิได้ร้องเรียนจำเลยที่ 2 และไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทนนั้น เห็นว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 บัญญัติให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจและหน้าที่ “(1) พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ… (7) ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคที่คณะกรรมการเห็นสมควร หรือมีผู้ร้องขอตามมาตรา 39” และมาตรา 39 บัญญัติว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรเข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค หรือเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการดำเนินคดีนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม…” เมื่อพิจารณาบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวแล้วเห็นว่า นอกจากโจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค เมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิแล้วโจทก์ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเมื่อโจทก์เห็นสมควรได้ด้วย สำหรับกรณีผู้บริโภคทั้ง 21 รายในคดีนี้ โจทก์มีนายกฤษณ์ นิติกรประจำสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเบิกความประกอบบันทึกสรุปข้อเท็จจริงการดำเนินคดีแพ่งจำเลยทั้งสอง และรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค (ชุดที่ 21) และรายงานการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคครั้งที่ 5/2543 เอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันดำเนินโครงการประตูทองพลาซ่าและคอนโดมิเนียม เห็นว่า การดำเนินคดีแพ่งจำเลยทั้งสองจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคเป็นส่วนรวม โจทก์จึงมีมติให้ดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเหตุผลดังที่ศาลได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น มติของโจทก์ที่ให้ดำเนินคดีแพ่งแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งร่วมกับจำเลยที่ 1 ละเมิดสิทธิของผู้บริโภคทั้ง 21 ราย จึงเป็นไปตามอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 10 และ 39 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 จึงชอบแล้ว ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคเห็นพ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
อนึ่ง ปรากฏว่าคดีนี้โจทก์ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงและโจทก์ดำเนินคดีเองโดยไม่ได้แต่งตั้งทนายความ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นเป็นพับและกำหนดให้ฝ่ายจำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์และศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์และมิได้สั่งเรื่องความรับผิดในชั้นที่สุดของค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคยกขึ้นเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง”
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะที่สั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมอื่นในส่วนของโจทก์เป็นพับ โดยให้คืนค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแก่โจทก์กับให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ฝ่ายจำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะที่ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ชั้นฎีกาให้เป็นพับ