การดำเนินการต่างๆ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

การดำเนินการต่างๆ ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามกฎหมายควบคุมอาคาร

เมื่อผู้ขออนุญาตก่อสร้างไม่เห็นด้วยกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งแล้วก็ชอบที่จะมีการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โดยกฎหมายควยคุมอาคารให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการสำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดส่งหนังสืออุทธรณ์พร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้แก่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

1.คำสั่งของเจ้าพนักงานท้อถิ่นที่ให้ดำเนินการแก่อาคารมูลกรณีทั้งหมด

2.อุทธรณ์ฉบับจริง พร้อมหนังสือรับรองการจดทะเบียนกรณีเป็นนิติบุคคล และหนังสือมอบอำนาจกรณีที่ผู้อุทธรณ์ไม่ได้อุทธรณ์เอง

3.สำเนาโฉนดที่ดิน โดยถ่ายสำเนามาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินหรือสัญญาให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ขออนุญาตก่อสร้าง

4.รายงานการตรวจพบของเจ้าหน้าที่

5.ใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารพร้อมแบบแปลน

6.แผนผังบริเวณอาคารมูลกรณี ละแผนที่ที่ตั้งอาคาร

7.ภาพถ่ายขณะตรวจพบ

8.หลักฐานการส่งคำสั่งและการปิดคำสั่ง

ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ส่งหลักฐานดังกล่าวมาแล้ว ฝ่ายเลขานุการก็จะจัดเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อใช้ในการประชุมพร้อมทั้งเสนอความเห็นของเลขานุการต่อที่ประชุม โดยก่อนที่จะมีการประชุมฝ่ายเลขานุการจะต้องจัดทำหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมด้วยโดยส่งหนังสือเชิญประชุมไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะเป็นประธานกรรมการ , อัยการจังหวัด , กรรมการซึ่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอีก 6 คน , โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเป็นกรรมการแลเลขานุการ ซึ่งในการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม และเมื่อได้มีการประชุมแล้วก็ให้จัดทำรายงานการประชุมขึ้นโดยมีรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับข้อพิจารณาและมติที่ประชุม จากนั้นเมื่อคณะกรรมการมีมติในที่ประชุมและมีการรับรองรายงานการประชุมเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำข้อพิจารณาและมติที่ประชุมนั้นมาจัดทำร่างคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ซึ่งในร่างคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะต้องประกอบด้วยข้อความของแต่ละส่วน เช่น ชื่อผู้อุทธรณ์และเจ้าพนักงานท้องถิ่น คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นเหตุแห่งการอุทธรณ์ มติคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นต้น เมื่อร่างคำวินิจฉัยและเมื่อที่ประชุมรับรองร่างคำวินิจฉัยแล้วก็ให้จัดทำคำวินิจฉัยเป็น 2 ฉบับ แล้วเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ลงนามให้ครบถ้วน แล้วจึงดำเนินการแจ้งให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบต่อไปโดยให้นำคำวินิจฉัยฉบับถ่ายเอกสาร 2 ชุด พร้อมรับรองเอกสารทั้ง 2 ชุด ส่งให้แก้เจ้าพนักงานท้องถิ่น 1 ชุด และส่งให้ผู้อุทธรณ์ 1 ชุด ต่อไป

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ

โทร 086-807-5928

อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/